สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…ใช้เงินยังไงให้อยู่รอดตลอดทั้งเดือน

| การเงิน

“เราก็ใช้เงินเก่งซะด้วย… ทีนี้ก็ว้าวุ่นเลย” คิดๆ ดูแล้ว การมีเงินให้พอใช้ตลอดทั้งเดือนก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างชาเลนจ์ตัวเองประมาณหนึ่ง จะทำอย่างไรให้มีเงินใช้ไม่ขาดมือได้ มาเรียนรู้การวางแผนการใช้เงินไปด้วยกัน

          หลายคนคงจะเคยได้ยินประโยคคลาสสิคที่ว่า “สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” “ต้นเดือนเหมือนราชา สิ้นเดือนมาเหมือนยาจก” “ต้นเดือนกิน Fine Dine ปลายเดือนกินมาม่า” หรือจะเป็น “รายรับหลักร้อย รายจ่ายหลักล้าน” หลายคนต่างเคยประสบกันมาไม่มากก็น้อย ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากมีการวางแผนในการใช้เงิน โดยอาจลองทำตามวิธีดังนี้

1. จดรายรับและรายจ่ายทั้งหมด (เชื่อได้ ว่ามันจะเวิร์ค ถึงแม้จะใช้เวลา)

          ก่อนจะไปเริ่มบันทึกรายรับหรือรายจ่ายในแต่ละเดือน ต้องเลือกเครื่องมือในการจดบันทึกที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อจะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง  ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีความถนัด หรือความสะดวกที่ไม่เหมือนกัน บ้างก็จดลงสมุด บ้างก็ทำผ่านโปรแกรม Excel บ้างก็ทำผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ ที่สามารถทำรายรับรายจ่ายได้ เป็นต้น

          เมื่อแต่ละคนเลือกวิธีที่ตัวเองถนัดได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยก็คือคำนวณรายรับ เพื่อที่จะรู้ว่าในแต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ เรามีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ และจากอะไรบ้าง เช่น เงินเดือน เงินค่าจ้าง เงินปันผล เงินช่วยเหลือต่างๆ โบนัส หรือแม้แต่การถูกลอตเตอรี่ก็นับเป็นรายรับ เพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมว่าเรามีเงินเข้าจำนวนมากแค่ไหน

          หลังจากที่เราเห็นแล้วว่า เรามีรายรับทั้งหมดเท่าไหร่ ก็มาดูกันต่อว่า เราจ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสัพเพเหระต่างๆ แล้วก็อย่าลืมว่ารายจ่ายที่เราควรหักออกไว้อย่างสม่ำเสมอในทุกเดือนก็ คือ เงินออม ซึ่งถือเป็นการจ่ายเพื่อตัวเองในการสร้างรากฐานสู่ความมั่นคงทางการเงินในอนาคต

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ขอยกสถานการณ์ตัวอย่างในการจดรายรับรายจ่ายเข้ามาใส่ในตารางด้านล่างนี้

“นายวศิน เป็นพนักงานบริษัท เขาได้รับเงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา เขาเพิ่งถูกลอตเตอรี่เลขท้าย 2 ตัว 1 ใบ เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 2,000 บาท เท่ากับว่าในเดือนนี้ เขามีรายรับทั้งหมดเป็นจำนวน 22,000 บาท เขาดีใจได้ไม่ถึงนาที ก็นึกขึ้นได้ว่าเดือนนี้จะต้องจ่ายค่าน้ำประปาบ้าน 200 บาท ค่าไฟฟ้าบ้าน 1,800 บาท ค่าอาหาร 3,000 บาท ค่า Wi-Fi ที่บ้าน 1,000 บาท เงินออมประจำเดือน 2,000 บาท เงินให้แม่ 2,000 บาท ค่าน้ำมันรถยนต์ 2,000 บาท ค่าซื้อของเข้าบ้าน 2,500 บาท ค่ากระเป๋าแฟชั่นเกาหลี 4,000 บาท และค่ากล่องสุ่ม Art Toy 3,000 บาท รวมเป็น 22,000 บาท”

ตัวอย่างการใส่ข้อมูลในตาราง:

          จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่านายวศินมีรายจ่ายเท่ากับรายรับ  เรียกได้ว่าสถานะทางการเงินของเขามีความเสี่ยงอย่างมาก และยิ่งถ้าหากไม่ถูกลอตเตอรี่ด้วยแล้วเท่ากับว่า เขาเองจะไม่มีเงินพอใช้ในเดือนนั้นเลย ทางที่ดีอาจจะต้องเริ่มวางแผนในการใช้เงินก่อนว่าเดือนหนึ่งรายจ่ายไหนที่สามารถตัดออกได้บ้าง อาจใช้การลำดับความจำเป็นเข้ามาช่วย ซึ่งการวางแผนในการใช้เงินจะขออธิบายในขั้นตอนถัดไป

2. วางแผนการใช้เงินตลอดทั้งเดือน

          เมื่อเห็นแล้วว่าในเดือนหนึ่ง เขาจ่ายอะไรไปบ้าง สิ่งต่อไปก็คือการมานั่งวางแผนว่า จะทำอย่างไรให้สถานะการเงินของเขาปลอดภัยมากกว่าเดิม โดยอาจเริ่มจากการตรวจสอบรายการใช้จ่ายเดือนที่ผ่านมา และบอกตัวเองว่าเดือนต่อไปจะเลือกใช้จ่ายเฉพาะรายการที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตจริงๆ เท่านั้น และตัดรายการไม่จำเป็น อย่างพวกของตามกระแสแบบที่ใคร ๆ พูดกันว่า “ของมันต้องมี” ออกไปก่อน

          อ้างอิงจากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเมื่อเทียบกับรายรับที่มีคือค่ากระเป๋าแฟชั่นเกาหลี ราคา 4,000 บาท และค่ากล่องสุ่ม Art Toy ราคา 3,000 บาท อย่างไรก็ตามในตัวอย่างข้างต้น แต่ละคนอาจจะมีความจำเป็นที่ไม่เท่ากัน หาก ณ ตอนนั้นมีความจำเป็นต้องใช้กระเป๋าก็เลยซื้อกระเป๋าใบใหม่ ก็ต้องซื้อ แต่หากมีกระเป๋าอยู่แล้ว ซื้อเพราะกระแสกำลังมา ใบเก่าที่มีอยู่ก็ยังสามารถใช้งานได้ดี ก็อาจสร้างความไม่จำเป็นให้กับตัวเองได้ รวมไปถึงค่ากล่องสุ่ม Art Toy ก็เช่นกัน ซึ่งถ้าลดหรือตัดรายจ่ายนี้ได้ ก็จะมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนมากขึ้น

          นอกจากการออมในบัญชีออมทรัพย์แล้ว หากมั่นใจว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินและอยากได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขอแนะนำบัญชีเงินออมดอกพิเศษ LINE BK ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.5%* สามารถเลือกออมได้ 2 ระยะเวลา จะเลือกออมแบบ 6 เดือน หรือแบบ 12 เดือนก็ได้ หากเลือก 6 เดือนจะได้ดอกเบี้ยอยู่ที 1.0%* แต่ถ้าเลือกระยะเวลาเป็น 12 เดือน จะได้ดอกเบี้ยสูงสุดที่ 1.5%* ทั้งนี้ยังมีคาแรกเตอร์จาก LINE แสนน่ารักคอยให้กำลังใจในการเก็บเงิน และคอยบอกว่าเก็บถึงเดือนที่เท่าไหร่แล้วอีกด้วย หากสนใจ สามารถคลิกสมัครได้เลยฟรี!

          กล่าวโดยสรุป ไม่อยากสิ้นใจ เมื่อสิ้นเดือนก็ต้องรู้ตัวก่อนว่าในหนึ่งเดือนเรามีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่บ้าง และทำการบันทึกลงตามวิธีที่แต่ละคนถนัด โดยให้คำนึงถึงรายการใช้จ่ายแต่ละครั้งว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน หากไม่ค่อยจำเป็นก็ตัดออกก่อน แล้วนำเงินที่เหลือไปใช้ในส่วนอื่นๆ แทน อย่างไรก็ตามความจำเป็นของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน ตามโอกาสและบริบทการใช้ชีวิต จึงควรปรับเปลี่ยนแผนการใช้เงินให้เหมาะกับตัวเองให้มากที่สุด เพื่อการมีสถานะการเงินที่ปลอดภัยและมีความสุขในการใช้ชีวิตไปด้วยได้พร้อมๆ กัน

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ KBank และ/หรือ LINE BK กำหนด

📢ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2567: แจ้งปิดบริการการเปิดบัญชีเงินออมดอกพิเศษ LINE BK ชั่วคราว จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

ขอขอบคุณบทความจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คลิก

ย้อนกลับ

LINE Chat

Go to Top