LINE BK ช่วยตอบ 5 คำถามยอดฮิต เรื่องประกันสุขภาพ

| ประกัน

ในยุคปัจจุบันที่มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา หรือฝุ่นพิษอย่าง PM 2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้คนเริ่มสนใจมองหาความคุ้มครองด้านสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยร้ายที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หลายคนอาจเจอปัญหา ไม่รู้จะเลือกซื้อประกันแบบไหนดี หรือที่มีอยู่ยังไม่ตอบโจทย์  เพราะต้องยอมรับว่าประกันสุขภาพมีหลายรูปแบบมากจนเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว บทความนี้ LINE BK ได้รวบรวม 5 ข้อที่คนมักถามเวลาวางแผนซื้อประกันสุขภาพ พร้อมคำตอบแบบรวบยอดที่เดียวจบ

1. ใครควรซื้อประกันสุขภาพ?

ทุกเพศ ทุกวัย เพราะโรคภัยไข้เจ็บสามารถเกิดกับทุกคนได้อย่างไม่ทันตั้งตัว การมีแผนประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่ดี เบี้ยประกันไม่แพงมากสักหนึ่งตัว จะทำให้เรารับมือกับการจ่ายค่ารักษาพยาบาลก้อนใหญ่ ๆ ได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น และที่สำคัญควรทำประกันในวันที่สุขภาพยังแข็งแรง  เพราะถ้าหากคิดที่จะมาทำประกันหลังจากที่ตรวจเจอโรคหรือปัญหาสุขภาพแล้วนั้น ส่วนใหญ่บริษัทฯ ประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองในโรคที่เป็นแล้ว

2. อยากทำประกันสุขภาพ ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

ผลิตภัณฑ์ประกัน มีแผนประกันหลายไซส์ หลายความคุ้มครองให้เลือก  โดยมี 3 ขั้นตอน ง่ายๆ ที่ต้องดูเวลาจะเลือกซื้อประกัน คือ

1) เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย

  • ดูว่าเบี้ยประกัน มีทั้งแบบรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน ให้เลือกชำระไหม จะได้สะดวกในการจ่าย
  • ดูว่าเบี้ยประกันเป็นแบบเบี้ยเพิ่มขึ้นตามอายุ หรือเบี้ยคงที่ จะได้บริหารจัดการถูก

2) วงเงินความคุ้มครองในการเข้ารักษาแต่ละครั้ง

  • ดูว่าปกติก่อนหน้านี้ เราจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่
  • ดูวงเงินค่ารักษาของแผนประกันแผนไหนให้ครอบคลุมกับค่ารักษาที่ปกติเคยจ่าย ให้เลือกแผนนั้น

3) โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลคู่สัญญา

ดูรายชื่อโรงพยาบาลและสถานพยาบาลคู่สัญญาว่าครอบคลุมที่เข้าใช้บริการบ่อย ๆ หรือเปล่า จะได้ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาเอง

3. ประกัน OPD กับ IPD ควรเลือกซื้อแบบไหนมากกว่ากัน?

การเลือกซื้อประกัน สามารถเลือกซื้อได้เหมือนกับสินค้าประเภทอื่น ๆ คือ เลือกตามการใช้งานได้เลย ซึ่งการจะดูว่าตนเองเหมาะกับประกับแบบผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ ประกันสำหรับผู้ป่วยใน (IPD) มากกว่า อาจตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองง่าย ๆ ว่าเป็นแบบไหน และเลือกประกันตามความเหมาะสม ดังนี้

ป่วยเล็กๆ น้อยๆ แต่บ่อยๆ หรือเปล่า

อาการป่วยบ่อยๆ แต่ไม่ถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล จะเริ่มเห็นชัดเจนมาเมื่ออายุมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น หวัด เจ็บคอ ปวดหัวไมเกรน ปวดหัวบ้านหมุน โรคกระเพาะ หรือออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น โดยเฉพาะในวัยทำงาน ที่แบกรับทั้งความรับผิดชอบ ความเครียด จนร่างกายอ่อนล้า

สำหรับใครที่มีอาการป่วยในรูปแบบนี้ แนะนำให้ลองพิจารณาซื้อประกันแบบผู้ป่วยนอก (OPD) อย่างเช่น ผู้ป่วยนอกเบาเบา เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ  โดยจะคุ้มครองโรคทั่วไป โรคระบาด และอุบัติเหตุ ครอบคลุมค่าแพทย์ ค่าวินิจฉัย ค่ายาให้ตามแผนที่เลือกซื้อ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ป่วยไม่บ่อย แต่ป่วยทีก็นอนโรงพยาบาลเลย

ปกติร่างกายแข็งแรง ถ้าป่วยไม่หนัก เช่น เป็นไข้  ปวดหัว ก็ซื้อยากินเองได้อยู่ แต่ถ้าช่วงทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ พักผ่อนไม่เพียงพอ เดี๋ยวเจอร้อน ฝน ก็ป่วยหนักมากได้เหมือนกัน เช่น เป็นไข้หวัดใหญ่  ท้องร่วงจนต้องเข้าโรงพยาบาล หรืออาจจะกังวลว่าจะเป็นอะไรที่ฉุกละหุก ไม่ทันตั้งตัว เช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง เกิดอุบัติเหตุแล้วต้องผ่าตัด เป็นต้น

สำหรับใครที่ป่วยแบบนอนโรงพยาบาลบ่อยๆ  สามารถเลือกซื้อประกันแบบผู้ป่วยใน (IPD) มีทั้งเป็นประกันแบบเหมาจ่ายทั้งหมด หรือประกันแบบต้องชำระบางส่วนเองก็ได้ อาทิ ผู้ป่วยในท็อปอัพ ดีที่เหมาจ่ายตอนแอดมิท เป็นประกันที่เข้ามาช่วยเพิ่มความคุ้มครองผู้ป่วยในแบบเหมาจ่าย ทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน และค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ  โดยเหมาจ่ายค่ารักษาไม่จำกัดครั้ง ที่สำคัญเบี้ยไม่แพง ทำให้อุ่นใจเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล

4. มีสวัสดิการบริษัทอยู่แล้ว ต้องซื้อประกันสุขภาพอีกหรือไม่

เป็นคำถามยอดฮิตในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ เพราะส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหรือวงเงินประกันสุขภาพกลุ่มที่ได้จากบริษัทอยู่แล้ว เลยไม่แน่ใจว่าควรต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมหรือไม่

ซึ่งส่วนนี้ขอแนะนำให้ลองกลับไปดูรายละเอียดของสวัสดิการหรือประกันกลุ่มที่ได้รับ ว่าความคุ้มครองหรือค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมเพียงพอต่อการเข้ารักษา โดยเฉพาะหากต้องนอนโรงพยาบาลหรือเกิดการผ่าตัดหรือไม่ หากความคุ้มครองที่มีไม่เพียงพอ อาจจะต้องควักเงินเก็บก้อนโตมาใช้ ซึ่งการมีประกันสุขภาพเพิ่มเติม ก็อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้

หรือหากใครยังไม่พร้อมทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม  อาจลองเลือกทำประกันชดเชยไม่ขาดเงิน ที่จะจ่ายค่าชดเชยให้ เมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามจำนวนวันที่ต้องพักรักษาตัว ซึ่งจะเป็นเงินที่เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนั้นได้

5. อยากทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงมีวิธีเลือกอย่างไร

กลุ่มโรคร้ายแรง อาทิ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ล้วนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเองและคนที่รัก เพราะรู้ดีว่าเป็นกลุ่มโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษายาวนาน รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่มักสูงมากอีกด้วย ดังนั้นการมีประกันโรคร้ายแรงไว้ จะสามารถช่วยในเรื่องค่ารักษาพยาบาล และรับการรักษาอย่างสบายใจมากขึ้น

โดยการเลือกทำประกันโรคร้ายแรงสามารถเลือกพิจารณาได้ ดังนี้

1. เลือกคุ้มครองโรคที่เป็นกังวล และเงื่อนไขการคุ้มครอง

ในปัจจุบัน มีประกันโรคร้ายแรงหลายรูปแบบ ดังนั้นผู้สนใจทำประกันควรศึกษาว่าประกันดังกล่าวให้ความคุ้มครองโรคใดบ้าง และเงื่อนไขการคุ้มครองเป็นอย่างไร เช่น เลือกทำประกันคุ้มครองเฉพาะโรคมะเร็ง เพราะกังวลกับโรคนี้เป็นพิเศษ  หรือ เลือกคุ้มครองแบบรวมกลุ่มโรคร้ายแรง เป็นต้น

2. เลือกรูปแบบการจ่ายเคลม

2.1 รับผลประโยชน์เป็นเงินก้อน

โดยทางบริษัทประกันจะจ่ายให้กับผู้ทำประกันในกรณีที่ตรวจพบ ซึ่งสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในการรักษาตัวหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาตัวได้

2.2 เคลมค่ารักษาพยาบาล

โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาให้กับทางโรงพยาบาลที่ผู้ทำประกันเข้ารักษาตัว

ซึ่งทาง LINE BK มีผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้าย จาก บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต โดยจะจ่ายผลประโยชน์ในรูปแบบเงินก้อนเมื่อตรวจพบ และสามารถเลือกเฉพาะกลุ่มโรคที่เรากังวลได้เพื่อได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมเฉพาะโรคไม่ว่าจะเป็นประกันคุ้มครองกลุ่มโรคมะเร็ง ประกันคุ้มครองกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และ ประกันคุ้มครองกลุ่มโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  

รายละเอียดเพิ่มเติม

หมายเหตุ

1.ผลประโยชน์ เงื่อนไข และความคุ้มครองโดยละเอียด เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

2.การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต

3.บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด เป็นเพียงช่องทางในการโฆษณาเท่านั้น

4.โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ย้อนกลับ

LINE Chat

Go to Top